สาเหตุที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน
ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะสามารถแก้ปัญหาใต้ตาคล้ำ ใต้ตาโบ๋ ใต้ตาเหี่ยวย่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือสามารถปรับแต่งให้สวยขึ้นได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายคนที่ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน ดูไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน
เทคนิคและประสบการณ์ของแพทย์
หากแพทย์ผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ไม่มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์การฉีด ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้ เนื่องจากแพทย์จะไม่สามารถประเมินตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะฉีดฟิลเลอร์ได้อย่างถูกต้อง และไม่สามารถคำนวณปริมาณฟิลเลอร์ที่จะฉีดได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ฟิลเลอร์เกิดการเคลื่อนตัวและจับตัวเป็นก้อนได้
ชนิดของฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดของโมเลกุล ความหนาแน่น ความยืดหยุ่น และระยะเวลาการคงอยู่ ดังนั้นแพทย์จึงต้องเลือกชนิดของฟิลเลอร์ให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะฉีด หากแพทย์เลือกชนิดของฟิลเลอร์ไม่เหมาะสม ฟิลเลอร์ก็อาจเกิดการเคลื่อนตัวและจับตัวเป็นก้อนได้
ปริมาณที่ใช้ฉีด
ปริมาณฟิลเลอร์ที่ฉีดก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน หากฉีดฟิลเลอร์มากเกินไป ฟิลเลอร์ก็จะเกิดการเคลื่อนตัวและจับตัวเป็นก้อนได้ ในทางกลับกัน หากฉีดฟิลเลอร์น้อยเกินไป ฟิลเลอร์ก็จะไม่สามารถเติมเต็มร่องลึกหรือริ้วรอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีอาการบวมหลังฉีด
โดยปกติหลังการฉีดฟิลเลอร์นั้น จะมีการบวมเล็กน้อย ซึ่งจะค่อย ๆ ยุบลงภายใน 2-3 วัน ในกรณีนี้ผู้เข้ารับการรักษาไม่ต้องกังวล แต่หากอาการบวมยังคงอยู่นานกว่า 5-7 วัน อาจเป็นสัญญาณของการเกิดก้อนฟิลเลอร์ได้
ฟิลเลอร์ปลอม
ฟิลเลอร์ปลอมเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ ราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพต่ำ จึงอาจเกิดการเกาะเป็นกลุ่มเป็นก้อนไหล ไหลย้อยไม่เป็นทรง และอาจเป็นอันตรายได้
วิธีแก้ไขเมื่อฉีดแล้วเป็นก้อน
การแก้ไขปัญหา ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มีอยู่ 3 วิธีหลักๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราฉีดฟิลเลอร์แบบใดมา หากฉีดฟิลเลอร์แท้ก็สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้เลย แต่ถ้าหากไม่ใช่ สารเติมเต็มจาก Hyaluronic Acid ต้องทำการขูดหรือผ่าตัดเท่านั้น
แก้ไข ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน สามารถทำได้ โดยมี 3 วิธี ดังนี้
การฉีดสลายฟิลเลอร์
หากคนไข้ฉีดฟิลเลอร์แท้ หรือ ฟิลเลอร์ที่เป็นสารเติมเต็มจาก Hyaluronic Acid ก็สามารถฉีดสลายได้โดยใช้ไฮยาลูโรนิเดสฉีดสลาย หลังฉีดสลายจะเห็นผลหลังฉีดทันที
การขูดฟิลเลอร์
เป็นการแก้ไขสำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ประเภทกึ่งถาวรที่ไม่สามารถสลายเองได้ แต่สามารถนำฟิลเลอร์ออกได้ประมาณ 60-70% เท่านั้น ไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมด
การผ่าตัดฟิลเลอร์
เป็นการแก้ไขสำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมหรือซิลิโคนเหลว ที่เป็นก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก หรืออยู่นานจนมีพังผืด ไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมด 100% ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งที่ฉีด บางบริเวณจะต้องเลี่ยงเพื่อป้องกันอันตราย
“ทั้งนี้ วิธีการแก้ไขก้อนฟิลเลอร์ควรเลือกตามความเหมาะสมของปัญหาและประเภทของฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไป หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษา”